เครื่องหมายวรรคตอนไทย กับ เครื่องหมายวรรคตอนฝรั่ง (๕) โดย รศ. ดร.นิตยา กาญจนะวรรณ
เครื่องหมายวรรคตอนไทย กับ เครื่องหมายวรรคตอนฝรั่ง (๕)ทํ…
Detailsเครื่องหมายวรรคตอนไทย กับ เครื่องหมายวรรคตอนฝรั่ง (๕)ทํ…
Detailsไก่จิกเด็กตายบน ป.อ.เคยเขียนเรื่อง “ทำไมต้องแบ่งอ…
Detailsemeritus professor ศาสตราจารย์กิตติคุณ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ : ตำแหน่งที่แต่งตั้งจากอาจารย์ประจำ ผู้เคยดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีความรู้ ความสามารถและความชำนาญเป็นพิเศษและพ้นจากตำแหน่งไปโดยไม่มีความผิด สภามหาวิทยาลัยอาจแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์กิตติคุณหรือศาสตราจารย์เกียรติคุณในสาขาวิชาที่ศาสตราจารย์นั้นมีความเชี่ยวชาญเพื่อเป็นเกียรติยศได้ ศาสตราจารย์ผู้นี้อาจสอนในมหาวิทยาลัยต่อไปก็ได้ แต่ไม่ใช่ศาสตราจารย์ที่ต่ออายุราชการ บางมหาวิทยาลัยจะปรากฏชื่อศาสตราจารย์กิตติคุณหรือศาสตราจารย์เกียรติคุณแยกจากศาสตราจารย์ธรรมดาในคู่มือการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
การเรียกชื่อศาสตราจารย์กิตติคุณหรือศาสตราจารย์เกียรติคุณนั้นขึ้นอยู่กับพระราชบัญญัติของแต่ละมหาวิทยาลัย เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกว่า ศาสตราจารย์กิตติคุณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรียกว่า ศาสตราจารย์เกียรติคุณ
ตำแหน่งศาสตราจารย์กิตติคุณ หรือศาสตราจารย์เกียรติคุณ ตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษา หรือพระราชบัญญัติของแต่ละมหาวิทยาลัยใช้อักษรย่อว่า “ศ. กิตติคุณ” หรือ “ศ. (เกียรติคุณ)” ส่วนระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการใช้ตำแหน่งทางวิชาการเป็นคำนำหน้านาม พ.ศ. ๒๕๓๖ ใช้อักษรย่อว่า “ศ.” [มีความหมายเหมือนกับ professor emeritus]
ที่มา : คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน
การแก้ไขตัวสะกด (๒)คณะกรรมการชำระพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิ…
COUNT DOWN หรือ “นับถอยหลัง” (๒)ตัวอย่าง คว…
honorary professor ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ : ตำแหน่งเกียรติยศที่ไม่ใช่ตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งมหาวิทยาลัยมอบให้แก่บุคคลผู้มีความเชี่ยวชาญและทำประโยชน์อย่างยิ่งต่อมหาวิทยาลัยและชุมชน
ที่มา : คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน
การกลับมาของยามักการ(๑)พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.…
COUNT DOWN หรือ “นับถอยหลัง” (๑)เมื่อใกล้จะ…
instructor อาจารย์ ผู้สอน : ๑. ตำแหน่งทางวิชาการของผู้สอนในระดับอุดมศึกษา
๒. ผู้ทำหน้าที่สอนหรือฝึกอบรมทักษะทางช่างฝีมือ (craft and psychomotor skill) หรือกีฬา
ที่มา : คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน
การกลับมาของยามักการ (๒)อย่างไรก็ตาม พลตรีพระเจ้าวรวงศ์…