กับ แก่ แต่ ต่อ (๒) โดย รศ. ดร.นิตยา กาญจนะวรรณ
กับ แก่ แต่ ต่อ (๒)ใน พ.ศ.๒๔๑๑ สมัยรัชกาลที่ ๔ คือเมื่อ…
Detailsกับ แก่ แต่ ต่อ (๒)ใน พ.ศ.๒๔๑๑ สมัยรัชกาลที่ ๔ คือเมื่อ…
Detailsassociate professor รองศาสตราจารย์ : ตำแหน่งทางวิชาการของบุคคลซึ่งทำหน้าที่สอนและวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา เป็นตำแหน่งที่สูงกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ แต่ต่ำกว่าศาสตราจารย์ แต่งตั้งโดยสภาสถาบัน พิจารณาจากคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งและผลงานทางวิชาการ รองศาสตราจารย์ใช้อักษรย่อว่า รศ.
ที่มา : คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน
professor emerita ศาสตราจารย์กิตติคุณ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ : ตำแหน่งศาสตราจารย์กิตติคุณหรือศาสตราจารย์เกียรติคุณที่เป็นสตรี ซึ่งมีใช้ในบางประเทศ แต่ในประเทศไทยไม่นิยมใช้เรียก [ดู emeritus professor ประกอบ]
ที่มา : คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน
กับ แก่ แต่ ต่อ (๑)ความเปลี่ยนแปลงของภาษาเป็นเรื่องธรรม…
adjunct professor ศาสตราจารย์วุฒิคุณ : ตำแหน่งของผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการที่มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญเฉพาะสาขา ซึ่งมหาวิทยาลัยแต่งตั้งจากบุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็นอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยให้ปฏิบัติการสอน วิจัย หรือเป็นที่ปรึกษางานวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา โดยทำงานไม่เต็มเวลา
มหาวิทยาลัยบางแห่งในต่างประเทศอาจแต่งตั้งอาจารย์ประจำของภาควิชาหนึ่งที่ไปช่วยสอนบางเวลาในอีกภาควิชาหนึ่งในมหาวิทยาลัยเดียวกัน เป็นศาสตราจารย์วุฒิคุณก็ได้ เช่น รองศาสตราจารย์ทางฟิสิกส์และศาสตราจารย์วุฒิคุณทางเคมี (Associate Professor of Physics and Adjunct Professor of Chemistry)
ที่มา : คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน
professor emeritus ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ศาสตราจารย์กิตติคุณ : ดู emeritus professor
ที่มา : คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน
TSUNAMI อีกครั้ง (๒)การใช้อักษรโรมันเขียนคำภาษาญี่ปุ่นท…
chair professor ศาสตรเมธาจารย์ ศาสตราจารย์อาวุโส :
๑. ตำแหน่งทางวิชาการสูงสุดและเป็นนักวิชาการอาวุโสของมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชา (departmental chair)
๒. ตำแหน่งเกียรติยศเพื่อเป็นการยกย่องศาสตราจารย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ประจำในมหาวิทยาลัย เป็นผู้นำทางวิชาการในระดับนานาชาติและได้แสดงให้เห็นประจักษ์ว่าเป็นผู้นำในการยกมาตรฐานของมหาวิทยาลัยในด้านการสอน การวิจัย และการบริการทางการศึกษา เช่น ศาสตรเมธาจารย์ทางฟิสิกส์หรือศาสตราจารย์อาวุโสทางฟิสิกส์ (Chair Professor of Physics)
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้กำหนดตำแหน่ง “chair professor” และใช้ชื่อภาษาไทยว่า ศาสตราจารย์เกียรติยศ
ที่มา : คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน
university professor ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัย : ตำแหน่งศาสตราจารย์ที่เฉพาะมหาวิทยาลัยใดมหาวิทยาลัยหนึ่ง แต่งตั้งจากอาจารย์ประจำที่เป็นศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยผู้มีความเชี่ยวชาญพิเศษ ประสบความสำเร็จในสาขาวิชา และเป็นผู้นำทางวิชาการในระดับนานาชาติ เช่น มหาวิทยาลัยดุ๊ก (Duke university) เรียกตำแหน่งว่า “James B. Duke Professor” หรือ สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology) เรียกตำแหน่งว่า “Institute Professor” ตำแหน่งนี้เทียบได้กับศาสตราจารย์พิศิษฐ์ (distinguished professor)
ที่มา : คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน
TSUNAMI อีกครั้ง (๑)เมื่อเดือนกันยายน ๒๕๔๑ คอลัมน์ R…